วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ร่างกายของเรา

                              "ร่างกายของเรา"
                อวัยวะทุกส่วนในร่างกายของมนุษย์ทำงานสัมพันธ์กันเป็นระบบ ทุกระบบต่างมีส่วนสำคัญต่อร่างกายทั้งสิ้น หากระบบใดทำงานผิดปกติก็จะส่งผลกระต่อระบบอื่นๆ
                ร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วยเซลล์ มีรูปร่างและขนาดที่แตกต่างกัน พอเซลล์ร่วมกันทำหน้าที่เฉพาะอย่าง เรียกว่า เนื้อเยื่อเนื้อเยื่อเมื่อร่วมกันทำหน้าที่อย่างหนึ่ง เรียกว่า อวัยวะอวัยวะหลายๆอวัยวะทำงานประสานกันเกิดเป็น ระบบ

 
ความสำคัญ และหลักการของกระบวนการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย
                คือ การทำงานของอวัยวะต่างๆ จะแบบตามระบบจะช่วยให้เข้าใจการทำงานของระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง ระบบต่างๆในร่างกายต้องพึ่งพาและทำงานสัมพันธ์กัน หากมีอวัยวะหรือระบบใดทำงานผิดปกติ ก็ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบอื่นๆต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ ด้วยเหตุนี้จึงต้องรักษาสุภาพร่ายกายให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ
       
                 การดูแลสุขภาพ คือ การคงสภาพที่ดีของร่ายกายและจิตใจ ไม่ให้เจ็บป่วย

การดูแลสุภาพมีแนวทางในการปฏิบัติ ดังนี้
1.รักษาอนามัยส่วนบุคคล
2.บริโภคอาหารให้ถูกต้องและเหมาะสม
3.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
4.พักผ่อนให้เพียงพอ
5.ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ
6.หลีกเลี่ยงอบายมุขและสิ่งเสพติดให้โทษ
7.ตรวจเช็คร่างกาย
        

ระบบประสาท (Nervous System)

                คือ ระบบที่ประกอบด้วยสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาททั่วร่างกาย ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานและการรับความรู้สึกของอวัยวะทุกส่วน ร่วมถึงความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ และความทรงจำต่างๆ
องค์ประกอบของระบบประสาท
แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ระบบประสาทส่วนกลาง และระบบประสาทส่วนปลาย
1.ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System) ประกอบด้วยสมอง (brain) และไขสันหลัง (spinal cord) ซึ่งเป็นศูนย์กลางควบคุมและประสานการทำงานของร่างกายทั้งหมด
                สมอง เป็นอวัยวะที่สำคัญและมีขนาดใหญ่กว่าส่วนอื่นๆ ของระบบประสาท บรรจุอยู่ภายในกะโหลกศรีษะมีน้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 1.4 กิโลกรัม หรือ 3 ปอนด์
                สมองแบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆคือ สมองส่วนหน้า ส่วนกลาง และสมองส่วนท้าย
                สมองส่วนหน้า ประกอบด้วย ซีรีบรัม ทาลามัส ไฮโพทาลามัส
                สมองส่วนกลาง ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตาและม่านตา
                สมองส่วนท้าย ประกอบด้วย ซีรีเบลลัม พอนส์ เมดัลลา ออบลองกาตา
                ไขสันหลัง เป็นส่วนที่ต่อจากสมองลงไปตามแนวช่องกระดูกสันหลัง และมีแขนงเส้นประสาทแตกออกจากข้อสันหลังมากมาย ไขสันหลังจะมีเยื่อหุ้ม 3 ชั้นและมีของเหลวบรรจุอยู่ในเยื่อหุ้มเช่นเดียวกับเยื่อหุ้มสมอง ไขสันหลังทำหน้าที่รับกระแสประสาทจากส่วนต่างๆของร่างกายส่งต่อไปยังสมอง และรับกระแสประสาทตอบสนองจากสมองเพื่อส่งไปยังอวัยวะต่างๆของร่างกาย และยังควบคุมปฏิกิริยาตอบสนอง (Reflex Action) ต่อสิ่งเร้าอย่างกะทันหันโดยไม่ต้องรอคำสั่งจากสมอง เช่น จับของร้อนจะรีบกระตุกมือทันที
2.ระบบประสาทส่วนปลาย (Peripheral Nervous System) ระบบประสาทส่วนปลาย ประกอบด้วย เส้นประสาทสมอง เส้นประสาทไขสันหลัง และประสาทระบบอัตโนมัติ
การทำงานของระบบประสาท
                ระบบประสาทเป็นระบบที่ทำงานประสานกันกับระบบกล้ามเนื้อ เช่น การอ่านหนังสือโดย มีการกระพริบตา ควบคุมกล้ามเนื้อให้กลอกตา รับภาพและข้อมูลใหม่ เป็นต้น และยังสามารถควบคุมการเต้นของหัวใจ ความดันเลือด อัตราการหายใจ และอื่นๆ
การบำรุงรักษาระบบประสาท
1.ระวังการกระทบกระเทือนบริเวณศรีษะ
2.ระวังไม่ให้เกิดโรคทางสมอง
3.หลีกเลี่ยงยาชนิดที่ส่งผลต่อสมอง รวมทั้งยาเสพติดและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
4.ผ่อนคลาย
5.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

ระบบสืบพันธุ์ (Reproductive System)
        เป็นระบบที่เกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนของสิ่งมีชีวิต ซึ่งต้องอาศัยการสืบพันธุ์ของเพศชายและเพศหญิง

อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย
1.อัณฑะ - เป็นที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ และสร้างฮอร์โมนเพศชาย
2.ถุงหุ้มอัณฑะ ควบคุมอุณหภูมิที่ต่ำกว่าร่างกายซะ 3-5 องศาเพื่อเหมาะกับการสร้างตัวอสุจิ
3.หลอกเก็บตัวอสุจิ - เก็บตัวอสุจิ
4.หลอดนำตัวอสุจิ - ลำเลียงตัวอสุจิ
5.ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ - สร้างอาหารเพื่อใช้เลี้ยงอสุจิ
6.ต่อมลูกหมากหลั่งสารที่มีฤทธิ์เป็นด่างอ่อนๆ เข้าไปในท่อปัสสาวะเพื่อทำลายฤทธิ์กรด
7.ต่อมคาวเปอร์หลั่งสารหล่อลื่นท่อปัสสาวะในขณะที่เกิดการกระตุ้นทางเพศ
 
อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง
1.รังไข่ - ทำหน้าที่ผลิตไข่ กับสร้างฮอร์โมนเพศหญิง
2.ท่อนำไข่ หรือปีกมดลูก - นำทางไข่ไปสู่มดลูก
3.มดลูก - เป็นที่เจริญเติบโตของทารกในครรภ์
4.ช่องคลอด - นำทางตัวอสุจิไปสู่มดลูก
การบำรุงรักษาระบบสืบพันธุ์
1.ดูแลร่างกายให้แข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ
2.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
3.งดเครื่องแอลกอฮอล์
4.พักผ่อนให้เพียงพอ
5.ทำความสะอาดร่างกายอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ
6.สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด
7.ไม่ใช่เครื่องนุ่มห่มร่วมกับผู้อื่น
8.ไม่สำส่อนทางเพศ
9.ถ้าเกิดความผิดปกติที่เกี่ยวกับอวัยวะเพศ ควรรีบปรึกษาแพทย์


ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System)


เป็นระบบที่ผลิตสาร ฮอร์โมนเป็นต่อมที่ไม่มีท่อหรือรูเปิด จึงลำเลียงสารเหล่าานั้นไปตามกระแสเลือดไปสู่อวัยวะ
ต่อมไร้ท่อประกอบด้วย
1.ต่อมใต้สมองแบ่งเป็น2ส่วน คือต่อมใต้สมองส่วนหน้าและส่วนหลัง มีการทำหน้าที่หลายอย่าง เช่น การส้รางฮอร์โมนในการเจริญเติบโต เ ป็นต้น
2.ต่อมหมวกไต
3.ต่อมไทรอยด์
4.ต่อมพาราไทรอยด์
5.ต่อมที่อยู่ในตับอ่อน
6.รังไข่ ทำหน้าที่ผลิตไข่สร้างฮอร์โมน
7.ต่อมไทมัส ทำหน้าที่ของระบบภูมิคุ่มกันของร่างกาย

การบำรุงรักษาระบบต่อมไร้ท่อ
1.เลือกรับประทานอาหารให้ครบ5หมู่
2.ดื่มน้ำวันละ6-8ต่อวัน
3.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
4.ลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
5.พักผ่อนให้เพียงพอ