วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

โรคจากพฤติกรรมมนุษย์

โรคจากพฤติกรรมมนุษย์

โรคไต 

          หมายถึง โรคชนิดหนึ่งที่เกิดจากความผิดปกติของพยาธิสภาพของไตในการทำงานเพื่อขับของเสียออกจากร่างกายและรักษาความสมดุลของเกลือและน้ำในร่างกายคนเรา โรคไตมีหลายประเภทดังนี้

    โรคไตวายฉับพลันจากเหตุต่างๆ
    โรคไตวายเรื้อรังเกิดตามหลังโรคเบาหวาน โรคไตอักเสบ โรคความดันโลหิตสูง โรคเก๊าท์
    โรคไตอักเสบเนโฟรติก
    โรคไตอักเสบจากภาวะภูมิคุ้มกันสับสน (โรค เอส.แอล.อี.)
    โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
    โรคถุงน้ำที่ไต (Polycystic Kidney Disease)

สาเหตุ
 1.เป็นมาแต่กำเนิด (Congenital) เช่นมีไตข้างเดียว หรือไตมีขนาดไม่เท่ากัน โรคไตเป็นถุงน้ำ (Polycystic kidney disease) ซึ่งเป็น กรรมพันธุ์ด้วย เป็นต้น
 2.เกิดจากการอักเสบ (Inflammation) เช่นโรคของกลุ่มเลือดฝอยของไตอักเสบ (glomerulonephritis)
 3.เกิดจากการติดเชื้อ (Infection) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเป็นส่วนใหญ่ เช่นกรวยไตอักเสบ ไตเป็นหนอง กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (จากเชื้อ โรค) เป็นต้น
 4.เกิดจากการอุดตัน (Obstruction) เช่นจากนิ่ว ต่อมลูกหมากโต มะเร็งมดลูกไปกดท่อไต เป็นต้น
 5.เนื้องอกของไต ซึ่งมีได้หลายชนิด
 
 อาการ
1.อาการปัสสาวะผิดปกติ เนื่องจากไตและกระเพาะปัสสาวะทำงานสัมพันธ์กัน เมื่อไตเกิดผิดปกติจึงส่งผลให้กระเพาะปัสสาวะผิดปกติไปด้วย อาการผิดปกติของปัสสาวะมีดั้งนี้ ปัสสาวะขัด ปัสสาวะลำบาก เจ็บ ต้องออกแรงแบ่ง ปัสสาวะไม่พุ่ง ปัสสาวะสะดุดกลางคัน ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ ปัสสาวะเป็นฟองมาก ปัสสาวะเป็นเลือด
 2.อาการบวม ผู้ป่วยโรคไตส่วนมากมีอาการบวมตามที่ต่างๆ ของร่างกาย เช่น บวมรอบดวงตาและที่บริเวณใบหน้า บวมที่เท้า หากใช้นิ้วกดไปตรงบริเวณที่บวมแล้วมีรอยบุ๋มลงไปให้สันนิษฐานไว้เลยว่าเป็นโรคไต
 3.อาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง เอว กระดูกและข้อ โดยจะมีลักษณะการปวดคือ รู้สึกปวดที่บั้นเอวหรือบริเวณชายโครงด้านหลังและมักปวดร้าวไปถึงท้องน้อย ขาอ่อน หัวหน่าว และที่อวัยวะเพศ
 4.ความดันโลหิตสูง เป็นอาการสำคัญที่บอกให้รู้ว่าคุณมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตเรื้อรัง ยิ่งผู้ป่วยเป็นความดันโลหิตสูงมานานและไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในภาวะที่สมดุล ยิ่งมีความเสี่ยงมากกว่าปกติโดยอาจจะเป็นโรคไตเรื้อรังและโรคหลอดเลือดแดงในไตตีบ

วิธีรักษา
อาจแบ่งได้เป็น 4 วิธีหลักๆ ด้วยกัน คือ
1.การตรวจค้นหาและการวินิจฉัยโรคไตที่เหมาะสม การตรวจค้นหา หรือวินิจฉัยโรค ที่ถูกต้องได้ในระยะต้นๆ ของโรค ย่อมมีโอกาสได้รับผลการรักษาดีกว่าการเข้าวินิจฉัยล่าช้า
2.การรักษาที่สาเหตุของโรคไต เช่น การรักษานิ่วไต การหยุดยาซึ่งเป็นพิษต่อไต การควบคุมโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ให้ดีอย่างสม่ำเสมอ การใช้ยาที่เหมาะสม กับโรคเนื้อไตอักเสบแต่ละชนิด เป็นต้น
3.การรักษาเพื่อชะลอความเสื่อมของไต แม้แพทย์จะรักษาสาเหตุของโรคไตแล้วแต่ผู้ป่วยจำนวนมากอาจมีการทำงานของไตที่เสื่อมลงกว่าปกติ เพราะเนื้อไตบางส่วนถูกทำลายไปไตส่วนที่ดีซึ่งเหลืออยู่จะต้องทำงานหนักขึ้นทำให้ไตเสื่อมการทำงานมากขึ้นตามระยะเวลาและมักเกิดไตวายในที่สุด ดังนั้นการชะลอการเสื่อมของไต อันได้แก่ การควบคุมอาหารให้เหมาะ กับการทำงานของไตที่เหลืออยู่ การใช้ยาเพื่อช่วยปรับสารต่างๆ ที่เป็นพิษต่อไต การควบคุมความดันโลหิตให้ดี เป็นต้น
4.การรักษาทดแทนการทำงานของไต (การล้างไตและการผ่าตัดปลูกถ่ายไต) เมื่อไตวายมากขึ้นจนเข้าระยะสุดท้าย ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาด้วยการล้างไตหรือการผ่าตัดปลูกถ่ายไต

ภูมิปัญญาไทย

ภูมิปัญญา




ภูมิปัญญา ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Wisdom หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะความเชื่อ และศักยภาพในการแก้ปัญหาของมนุษย์ที่สืบทอดกันมาจากอดีตถึงปัจจุบันอย่างไม่ ขาดสายและเชื่อมโยงกันทั้งระบบทุกสาขา
ภูมิปัญญาไทย หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะและเทคนิคการตัดสินใจ ผลิตผลงานของบุคคล อันเกิดจากการสะสมองค์-ความรู้ทุกด้านที่ผ่านกระบวนการสืบทอด พัฒนาปรับปรุง และเลือกสรรมาแล้วเป็นอย่างดีสามารถแก้ไขปัญหา และพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย

ลักษณะของภูมิปัญญาไทย

  • 1. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเป็นทั้งความรู้ ทักษะ ความเชื่อ และพฤติกรรม
  • 2. ภูมิปัญญาไทยแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ
  • 3. ภูมิปัญญาไทยเป็นองค์รวมหรือกิจกรรมทุกอย่างในวิถีชีวิตของคน
  • 4. ภูมิปัญญาไทยเป็นเรื่องของการแก้ปัญหา การจัดการ การปรับตัว และการเรียนรู้ เพื่อความอยู่รอดของบุคคล ชุมชน และสังคม
  • 5. ภูมิปัญญาไทยเป็นพื้นฐานสำคัญในการมองชีวิต เป็นพื้นฐานความรู้ในเรื่องต่างๆ
  • 6. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเฉพาะ หรือมีเอกลักษณ์ในตัวเอง
  • 7. ภูมิปัญญาไทยมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อการปรับสมดุลในพัฒนาการทางสังคม 
  •  

ลักษณะความสัมพันธ์ของภูมิปัญญาไทย

ภูมิปัญญาไทยสามารถสะท้อนออกมาใน 3 ลักษณะที่สัมพันธ์ใกล้ชิดกัน คือ
  • 1. ความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกันระหว่างคนกับโลก สิ่งแวดล้อม สัตว์ พืช และธรรมชาติ
  • 2. ความสัมพันธ์ของคนกับคนอื่นๆ ที่อยู่ร่วมกันในสังคม หรือในชุมชน
  • 3. ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์สิ่งเหนือธรรมชาติ ตลอดทั้งสิ่งที่ไม่สามารถสัมผัสได้ทั้งหลาย
ทั้ง 3 ลักษณะนี้ คือ สามมิติของเรื่องเดียวกัน หมายถึง ชีวิตชุมชน สะท้อนออกมาถึงภูมิปัญญาในการดำเนินชีวิตอย่างมีเอกภาพ เหมือนสามมุมของรูปสามเหลี่ยม ภูมิปัญญาจึงเป็นรากฐานในการดำเนินชีวิตของคนไทย

คุณค่าของภูมิปัญญาไทย

        ทางด้านการสร้างความภาคภูมิใจและศักดิ์ศรี เกียรติภูมิแก่คนไทย
        คนไทยในอดีตที่มีความสามารถปรากฏในประวัติศาสตร์มีมาก เป็นที่ยอมรับของนานาอารยประเทศ เช่น นายขนมต้มเป็นนักมวยไทยที่มีฝีมือเก่งในการใช้อวัยวะทุกส่วน ทุกท่าของแม้ไม้มวยไทย สามารถชกมวยไทย จนชนะพม่าได้ถึงเก้าคนสิบคนในคราวเดียวกัน แม้ในปัจจุบันมวยไทยก็ยังถือว่า เป็นศิลปะชั้นเยี่ยม เป็นที่นิยมฝึก และแข่งขันในหมู่คนไทยและชาวต่างประเทศ ปัจจุบันมีค่ายมวยไทยทั่วโลกไม่ต่ำกว่า 30,000 แห่ง ชาวต่างประเทศที่ได้ฝึกมวยไทยจะรู้สึกยินดีและภาคภูมิใจ ในการที่จะใช้กติกาของมวยไทย เช่น การไหว้ครูมวยไทย การออกคำสั่งในการชกเป็นภาษาไทยทุกคำ เช่น คำว่า "ชก" "นับหนึ่งถึงสิบ" เป็นต้น ถือเป็นมรดกภูมิปัญญาไทย นอกจากนี้ ภูมิปัญญาไทยที่โดดเด่นยังมีอีกมากมาย เช่น มรดกภูมิปัญญาทางภาษาและวรรณกรรม โดยที่มีอักษรไทยเป็นของตนเองมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย และวิวัฒนาการมาจนถึงปัจจุบัน วรรณกรรมไทยถือว่าเป็น วรรณกรรมที่มีความไพเราะ ได้อรรถรสครบทุกด้าน วรรณกรรม หลายเรื่องได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศหลายภาษา ด้านอาหาร อาหารไทยเป็นอาหารที่ปรุงง่าย พืชที่ใช้ประกอบอาหารส่วนใหญ่เป็นพืชสมุนไพร ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นและราคาถูก มีคุณค่าทางโภชนาการ และยังป้องกันโรคได้หลายโรค เพราะส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นพืชสมุนไพร เช่น ตะไคร้ ขิง ข่า กระชาย ใบมะกรูด ใบโหระพา ใบกะเพรา เป็นต้น

การนวดแผนไทย

การนวดแผนไทย ไ้ด้รับการสืบทอดกันมานาน ซึ่งถือเป็นศาสตร์และศิลป์ ช่วยในเรื่อง สุขภาพของคนไทย แม้ว่าความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอันทันสมัยของการแพทย์ แผนปัจจุบัน จะมีบทบาทสำคัญ ในการดูแลสุขภาพของคนทั่วโลก แต่หลายคนก็ยัง เสาะแสวงหาทางเลือกอื่น ในการดูแลสุขภาพของตนเอง ด้วยเหตุผลแตกต่างกัน การ แพทย์แผนไทย เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง สำหรับการดุแลสุขภาพ

งานโครงการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนและสังคม

งานโครงการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนและสังคม
ชื่อโครงการ : รํากระบองชีวจิต


หลักการและเหตุผล :
             ผลของการรำกระบองช่วยสร้างความแข็งแกร่งและเพื่อยืดหยุ่นกล้ามเนื้อโดยเฉพาะอวัยวะที่อยู่ส่วนปลายของร่างกายอย่างนิ้วเท้า นอกจากนั้น การรำกระบองอย่างสม่ำเสมอยังช่วยให้ร่างกายยืดหยุ่นเพิ่มขึ้นด้วย โดยเฉพาะเอ็นร้อยหวาย, กล้ามเนื้อน่อง

วัตถุประสงค์ :
             ทำให้ร่างกายคนในชุมชนแข็งแรง และช่วยผู้ที่มีอาการเจ็บปวดต่างๆลดลง และสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้คล่องแคล่วขึ้น เพราะเป็นการออกกำลังแบบเบาๆ

กลุ่มเป้าหมาย :
             ผู้มีปัญหาปวดหลังหรือข้ออักเสบ หรือผู้สูงอายุ และคนในชุมชนทั่วไป

วิธีดำเนินการ :
             มีการติดประกาศและแจกใบปลิวโฆษณาภายในชุมชนว่ามีการออกกำลังกายรำกระบอง

ระยะเวลาดำเนินการ(ก.ค – ต.ค) :
             มีทุกวันอังคารและพฤหัสบดี เวลา 17.00-18.00 น.

สถานที่ดำเนินการ :
             สวนสาธารณะ หรือสนามกีฬาใกล้ชุมชน

งบประมาณ(20000 บาท) :
             จ้างครูฝึกครั้งละ 300 บาท และผู้ช่วยฝึก 200 บาท ที่เหลือนำไปเป็นค่าอาหารว่างตกเดือนละ 1000 บาท

ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
              คาดหวังว่าคนในชุมชนจะออกมาร่วมกิจกรรมที่ทางชุมชนได้จัดขึ้น เพื่อหวังให้คนในชุมชนมีสุขภาพแข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ

ผู้รับผิดชอบโครงการ :
              ผกาแก้ว น้อยอิ่มใจ

มาออกกำลังกายกันเถอะ

"การออกกำลังกาย"
การออกกำลังกาย หมายถึง การทำให้กล้ามเนื้อลายทำงาน เพื่อให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหว พร้อมกับการได้แรงงานได้ ในขณะเดียวกันยังมีการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย เพื่อช่วยจัดแผนงาน ควบคุม และปรับปรุงส่งเสริม ให้การออกกำลังกายมีประสิทธิภาพ และคงอยู่ การออกกำลังกายจึงหมายความถึงการเคลื่อนไหวออกแรง เพื่อทำกิจกรรมทางร่างกายในทุกลักษณะ เพื่อฝึกให้ร่างกายได้เคลื่อนไหว ช่วยให้กล้ามเนื้อได้ทำงาน แข็งแรง และเจริญเติบโต ปอดและหัวใจทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่อนคลายความตึงเครียดในใจ
 
 
เพลงเรามา sing ของ เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์
แค่ขยับก็เท่ากับได้ออกกำลังกาย :)


ประโยชน์ของการออกกำลังกาย
1. 
กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น การออกกำลังกายจะทำให้การไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงเซลล์ทั้ง ร่างกายได้ดีขึ้น  กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น  มีพลังที่สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ดีขึ้น  สังเกตได้จากคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำ  หรือนักกีฬา  ถ้าจับต้องตามกล้ามเนื้อ จะแข็งแรง  เพราะอาหารที่รับประทานเข้าไปถูกใช้เป็นพลังงาน ไม่เหลือสะสมเป็นไขมันใต้ผิวหนัง  อาจเปรียบเทียบได้กับกุ้งแม่น้ำ ที่ต้องว่ายน้ำทวนกระแสน้ำ เพื่อหาอาหาร  เนื้อกุ้งชนิดนี้จึงมีเนื้อแน่น  รสชาติดีกว่ากุ้งเลี้ยง  ที่ไม่ต้องออกแรงว่ายน้ำหาอาหาร
2.  การทรงตัวดี การออกกำลังกายอยู่เสมอ จะช่วยให้ทรงตัวดีขึ้น มีความกระฉับกระเฉงว่องไว  เพราะร่างกายได้มีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ  การประสานงานของกล้ามเนื้อ และอวัยวะต่างๆ จะทำงานได้ดีขึ้น
3.  ทรวดทรงดี การออกกำลังกายจะช่วยให้ทรวดทรงดีขึ้น สัดส่วนของร่างกายจะเหมาะ สมการออกกำลังกายสม่ำเสมอยังช่วยควบคุมน้ำหนักตัวให้คงที่ ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในตัวเอง  มีผลต่อสุขภาพจิตด้วย
4. 
ปอด หัวใจ หลอดเลือด ทำงานได้ดีขึ้น การออกกำลังกายอย่างถูกต้องตามหลักการและ สม่ำเสมอ จะเพิ่มการขนส่งออกซิเจนไปยังเซลล์กล้ามเนื้อ และอวัยวะที่เกี่ยวข้องมากขึ้น ทำให้หัวใจ หลอดเลือด และปอด มีความแข็งแรง  อัตราการเต้นของหัวใจ  และการหายใจ  ขณะพักลดลง  และจะช้ากว่าคนที่ไม่ได้ออกกำลังกาย แสดงให้เห็นว่าหัวใจ ปอด  และหลอดเลือด  มีสมรรถภาพดี  ปอดและหัวใจของคนที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ จึงไม่ต้องทำงานหนัก
5. ชะลอความเสื่อมของอวัยวะ ช่วยให้มีอายุยืนยาว การออกกำลังกายที่เหมาะสมเป็นประจำจะช่วยให้แก่ช้า และอายุยืนยาว เพราะกระดูกต่าง ๆ แข็งแรง  กล้ามเนื้อแข็งแรง  อวัยวะทุกส่วนของร่างกายทำหน้าที่ได้ดีขึ้น

6.  การเจริญเติบโต การออกกำลังกายเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเจริญเติบโต โดยเฉพาะในเด็กที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตอย่างถูกส่วน จึงกระตุ้นให้อวัยวะต่าง ๆ เจริญขึ้นพร้อมกันไป ทั้งขนาด รูปร่าง และหน้าที่การทำงาน  เด็กที่ออกกำลังกายอย่างถูกต้องสม่ำเสมอจึงมีการเจริญเติบโตดีกว่าเด็กที่ขาดการออกกำลังกาย
7. 
สมรรถภาพทางกายดี การออกกำลังกายเป็นกิจกรรมที่เสริมสมรรถภาพทางกายทุกด้าน ด้าน เช่น  ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอ่อนตัว  ความอดทน  นอกจากนี้ยังสามารถช่วยป้องกันโรคต่าง ๆโรคหลอดเลือดหัวใจเสื่อมสมรรถภาพ  โรคความดันโลหิตสูง  โรคอ้วน  โรคเบาหวาน  และโรคข้อต่อเสื่อมสภาพ


ข้อห้ามในการออกกำลังกาย                
1.
ขณะเจ็บป่วยเป็นไข้ หรือมีการอักเสบ การบาดเจ็บของอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย                
2. 
หลังจากฟื้นไข้ใหม่ ๆ หรือระยะพักฟื้นจากการเจ็บป่วย                
3. 
หลังจากรับประทานอาหารใหม่ ๆ ควรให้เลย 4 ชั่วโมงไปแล้ว                
4. 
ผู้ป่วยโรคหัวใจ การออกกำลังกายควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์                
5. 
ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง  เบาหวาน  ฯลฯ  ควรออกกำลังกาย  แต่ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ  และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด                
6. 
ขณะออกกำลังกาย ถ้ารู้สึกเหนื่อยมาก ใจสั่น หน้ามืด หายใจขัด เวียนศีรษะ  คลื่นไส้  ถ้ามีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ต้องหยุดออกกำลังกายทันที  นั่งพัก  หรือนอนราบจนหายเหนื่อย  ควรให้แพทย์ได้ตรวจร่างกายเสียก่อนที่จะออกกำลังกายต่อไป

วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ร่างกายของเรา

                              "ร่างกายของเรา"
                อวัยวะทุกส่วนในร่างกายของมนุษย์ทำงานสัมพันธ์กันเป็นระบบ ทุกระบบต่างมีส่วนสำคัญต่อร่างกายทั้งสิ้น หากระบบใดทำงานผิดปกติก็จะส่งผลกระต่อระบบอื่นๆ
                ร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วยเซลล์ มีรูปร่างและขนาดที่แตกต่างกัน พอเซลล์ร่วมกันทำหน้าที่เฉพาะอย่าง เรียกว่า เนื้อเยื่อเนื้อเยื่อเมื่อร่วมกันทำหน้าที่อย่างหนึ่ง เรียกว่า อวัยวะอวัยวะหลายๆอวัยวะทำงานประสานกันเกิดเป็น ระบบ

 
ความสำคัญ และหลักการของกระบวนการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย
                คือ การทำงานของอวัยวะต่างๆ จะแบบตามระบบจะช่วยให้เข้าใจการทำงานของระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง ระบบต่างๆในร่างกายต้องพึ่งพาและทำงานสัมพันธ์กัน หากมีอวัยวะหรือระบบใดทำงานผิดปกติ ก็ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบอื่นๆต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ ด้วยเหตุนี้จึงต้องรักษาสุภาพร่ายกายให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ
       
                 การดูแลสุขภาพ คือ การคงสภาพที่ดีของร่ายกายและจิตใจ ไม่ให้เจ็บป่วย

การดูแลสุภาพมีแนวทางในการปฏิบัติ ดังนี้
1.รักษาอนามัยส่วนบุคคล
2.บริโภคอาหารให้ถูกต้องและเหมาะสม
3.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
4.พักผ่อนให้เพียงพอ
5.ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ
6.หลีกเลี่ยงอบายมุขและสิ่งเสพติดให้โทษ
7.ตรวจเช็คร่างกาย
        

ระบบประสาท (Nervous System)

                คือ ระบบที่ประกอบด้วยสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาททั่วร่างกาย ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานและการรับความรู้สึกของอวัยวะทุกส่วน ร่วมถึงความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ และความทรงจำต่างๆ
องค์ประกอบของระบบประสาท
แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ระบบประสาทส่วนกลาง และระบบประสาทส่วนปลาย
1.ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System) ประกอบด้วยสมอง (brain) และไขสันหลัง (spinal cord) ซึ่งเป็นศูนย์กลางควบคุมและประสานการทำงานของร่างกายทั้งหมด
                สมอง เป็นอวัยวะที่สำคัญและมีขนาดใหญ่กว่าส่วนอื่นๆ ของระบบประสาท บรรจุอยู่ภายในกะโหลกศรีษะมีน้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 1.4 กิโลกรัม หรือ 3 ปอนด์
                สมองแบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆคือ สมองส่วนหน้า ส่วนกลาง และสมองส่วนท้าย
                สมองส่วนหน้า ประกอบด้วย ซีรีบรัม ทาลามัส ไฮโพทาลามัส
                สมองส่วนกลาง ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตาและม่านตา
                สมองส่วนท้าย ประกอบด้วย ซีรีเบลลัม พอนส์ เมดัลลา ออบลองกาตา
                ไขสันหลัง เป็นส่วนที่ต่อจากสมองลงไปตามแนวช่องกระดูกสันหลัง และมีแขนงเส้นประสาทแตกออกจากข้อสันหลังมากมาย ไขสันหลังจะมีเยื่อหุ้ม 3 ชั้นและมีของเหลวบรรจุอยู่ในเยื่อหุ้มเช่นเดียวกับเยื่อหุ้มสมอง ไขสันหลังทำหน้าที่รับกระแสประสาทจากส่วนต่างๆของร่างกายส่งต่อไปยังสมอง และรับกระแสประสาทตอบสนองจากสมองเพื่อส่งไปยังอวัยวะต่างๆของร่างกาย และยังควบคุมปฏิกิริยาตอบสนอง (Reflex Action) ต่อสิ่งเร้าอย่างกะทันหันโดยไม่ต้องรอคำสั่งจากสมอง เช่น จับของร้อนจะรีบกระตุกมือทันที
2.ระบบประสาทส่วนปลาย (Peripheral Nervous System) ระบบประสาทส่วนปลาย ประกอบด้วย เส้นประสาทสมอง เส้นประสาทไขสันหลัง และประสาทระบบอัตโนมัติ
การทำงานของระบบประสาท
                ระบบประสาทเป็นระบบที่ทำงานประสานกันกับระบบกล้ามเนื้อ เช่น การอ่านหนังสือโดย มีการกระพริบตา ควบคุมกล้ามเนื้อให้กลอกตา รับภาพและข้อมูลใหม่ เป็นต้น และยังสามารถควบคุมการเต้นของหัวใจ ความดันเลือด อัตราการหายใจ และอื่นๆ
การบำรุงรักษาระบบประสาท
1.ระวังการกระทบกระเทือนบริเวณศรีษะ
2.ระวังไม่ให้เกิดโรคทางสมอง
3.หลีกเลี่ยงยาชนิดที่ส่งผลต่อสมอง รวมทั้งยาเสพติดและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
4.ผ่อนคลาย
5.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

ระบบสืบพันธุ์ (Reproductive System)
        เป็นระบบที่เกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนของสิ่งมีชีวิต ซึ่งต้องอาศัยการสืบพันธุ์ของเพศชายและเพศหญิง

อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย
1.อัณฑะ - เป็นที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ และสร้างฮอร์โมนเพศชาย
2.ถุงหุ้มอัณฑะ ควบคุมอุณหภูมิที่ต่ำกว่าร่างกายซะ 3-5 องศาเพื่อเหมาะกับการสร้างตัวอสุจิ
3.หลอกเก็บตัวอสุจิ - เก็บตัวอสุจิ
4.หลอดนำตัวอสุจิ - ลำเลียงตัวอสุจิ
5.ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ - สร้างอาหารเพื่อใช้เลี้ยงอสุจิ
6.ต่อมลูกหมากหลั่งสารที่มีฤทธิ์เป็นด่างอ่อนๆ เข้าไปในท่อปัสสาวะเพื่อทำลายฤทธิ์กรด
7.ต่อมคาวเปอร์หลั่งสารหล่อลื่นท่อปัสสาวะในขณะที่เกิดการกระตุ้นทางเพศ
 
อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง
1.รังไข่ - ทำหน้าที่ผลิตไข่ กับสร้างฮอร์โมนเพศหญิง
2.ท่อนำไข่ หรือปีกมดลูก - นำทางไข่ไปสู่มดลูก
3.มดลูก - เป็นที่เจริญเติบโตของทารกในครรภ์
4.ช่องคลอด - นำทางตัวอสุจิไปสู่มดลูก
การบำรุงรักษาระบบสืบพันธุ์
1.ดูแลร่างกายให้แข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ
2.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
3.งดเครื่องแอลกอฮอล์
4.พักผ่อนให้เพียงพอ
5.ทำความสะอาดร่างกายอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ
6.สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด
7.ไม่ใช่เครื่องนุ่มห่มร่วมกับผู้อื่น
8.ไม่สำส่อนทางเพศ
9.ถ้าเกิดความผิดปกติที่เกี่ยวกับอวัยวะเพศ ควรรีบปรึกษาแพทย์


ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System)


เป็นระบบที่ผลิตสาร ฮอร์โมนเป็นต่อมที่ไม่มีท่อหรือรูเปิด จึงลำเลียงสารเหล่าานั้นไปตามกระแสเลือดไปสู่อวัยวะ
ต่อมไร้ท่อประกอบด้วย
1.ต่อมใต้สมองแบ่งเป็น2ส่วน คือต่อมใต้สมองส่วนหน้าและส่วนหลัง มีการทำหน้าที่หลายอย่าง เช่น การส้รางฮอร์โมนในการเจริญเติบโต เ ป็นต้น
2.ต่อมหมวกไต
3.ต่อมไทรอยด์
4.ต่อมพาราไทรอยด์
5.ต่อมที่อยู่ในตับอ่อน
6.รังไข่ ทำหน้าที่ผลิตไข่สร้างฮอร์โมน
7.ต่อมไทมัส ทำหน้าที่ของระบบภูมิคุ่มกันของร่างกาย

การบำรุงรักษาระบบต่อมไร้ท่อ
1.เลือกรับประทานอาหารให้ครบ5หมู่
2.ดื่มน้ำวันละ6-8ต่อวัน
3.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
4.ลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
5.พักผ่อนให้เพียงพอ